หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย กันมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่า BMI คืออะไร และยังไม่รู้ว่าดัชนีมวลกายสำคัญอย่างไรกับเรา ต้องยอมรับนะคะว่าหลายคนปล่อยปละละเลยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเราไม่ทันได้สังเกต พอรู้ตัวอีกทีทั้งรูปร่างสัดส่วนและสุขภาพก็ย่ำแย่จนน่าเป็นห่วงเลยค่ะ วันนี้หมอเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ BMI กันให้มากขึ้น พร้อมวิธีการหาค่า BMI ของตัวเอง รวมไปถึงแนวทางการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและปลอดภัยเมื่อเราเข้าข่ายโรคอ้วนค่ะ
BMI คืออะไร
BMI คือ ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ซึ่งจะบอกได้ว่าน้ำหนักตัวและส่วนสูงของเราอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ (ใช้ประเมินในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป) หรือตอนนี้เรากำลังมีน้ำหนักตัวที่ผอม, ปกติ หรือว่ากำลังมีภาวะโรคอ้วนอยู่ ซึ่งนอกจากค่า BMI ที่คำนวณออกมาได้จะบอกได้ว่าคุณมีรูปร่างสัดส่วนเป็นอย่างไร ยังสามารถใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงทีจะเกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสุขภาพได้อีกด้วย
โดยค่า BMI สามารถคำนวณได้จาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) แล้วยกกำลัง 2 ซึ่งสูตรนี้สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สรุปได้ว่าการหาค่า BMI คือ การเช็คตัวเองแบบพื้นฐานว่าเราเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือไม่นั่นเองค่ะ
สูตรหาค่า BMI ด้วยตัวเอง

ตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว 65 (กก.) ส่วนสูง150 (เมตร)2เพราะฉะนั้น จะได้ค่า BMI = 28.8
อ้วนหรือผอมมาดูกัน!
เมื่อเราได้ค่า BMI แล้ว เราลองมาดูในตารางด้านล่างกันว่าดัชนีมวลกายปกติหรือไม่ ซึ่งค่า BMI แต่ละช่วงนั้นจะสามารถประเมินได้ว่าเราเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนหรือยัง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ
ค่า BMI
ที่วัดได้
แสดงถึง
เสี่ยงต่อการ
เกิดโรค
น้อยกว่า 18.5 |
18.60 – 22.90 |
23 – 24.90 |
25 – 29.90 |
30 ขึ้นไป |
ผอม มากกว่าปกติ |
เกณฑ์ปกติ |
น้ำหนักเกิน |
อ้วนระดับ 1 |
อ้วนระดับ 2 (อันตราย) |
รับสารอาหาร ไม่เพียงพอ |
ปกติ |
มีภาวะเสี่ยง มากกว่าคน ปกติ |
มีความเสี่ยง -โรคความดัน โลหิตสูง -ไขมัน ในเลือดสูง – เบาหวาน – หลอดเลือด หัวใจ -ฯลฯ |
เกร็ดความรู้ “อ้วนหรือผอม” คำนวณเพิ่มได้อีก 2 สูตร
สูตรวัดรอบเอว ใช้สายวัดที่ระดับสะดือ วัดโดยรอบ แล้วนำตัวเลขที่วัดเป็นหน่วยเซนติเมตร หารด้วย 2 จะเท่ากับตัวเลขรอบเอวที่ไม่ควรเกินจากค่านั้น เช่น
- 160 (ซม.) หาร 2 = 80 ซม. แปลว่าหากเราสูง 160 เซนติเมตร รอบเอวเราไม่ควรเกิน 80 ซม.ค่ะ
สูตรวัดจากความสูง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่หาได้ง่าย ๆ คือ ให้นำส่วนสูงลบกับ 110 (สำหรับผู้หญิง) หรือ 100 (สำหรับผู้ชาย)เช่น
- น.ส. A สูง 165 ซม. 165 – 110 = 55 กิโลกรัม (เป็นน้ำหนักที่เหมาะสม)
- นาย B สูง 180 ซม. 175 – 100 = 75 กิโลกรัม (เป็นน้ำหนักที่เหมาะสม)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับค่า BMI และ ปริมาณไขมันในร่างกาย
หลายคนเข้าใจผิดว่าค่า BMI สามารถหาค่าปริมาณไขมันในร่างกายเราได้ ในความเป็นจริงแล้วค่า BMI คือ ค่าที่ใช้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัวและส่วนสูง ซึ่งค่าที่ได้ไม่บ่งบอกว่าแต่ละคนมีไขมันในร่างกายเท่าไหร่ บางคนที่ตัวใหญ่ ๆ อาจจะมีน้ำหนักเยอะก็จริง แต่น้ำหนักที่มากนั้นกลับมาจากมวลกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน แต่หมอก็มีสูตรการหาค่าปริมาณไขมันโดยนำค่า BMI ที่ได้มาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ไขมันต่อได้ค่ะ
- ปริมาณไขมันสำหรับผู้ชาย = (1.2 x ดัชนีมวลกาย) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 16.2
- ปริมาณไขมันสำหรับผู้หญิง = (1.2 x ดัชนีมวลกาย) + (0.23 x อายุเป็นปี) – 5.4
ซึ่งปริมาณไขมันที่ปกติควรจะมี 15-20% (ในผู้ชาย) และ 25-30% (ในผู้หญิง)
ปริมาณ
ไขมัน
ในผู้หญิง
ปริมาณ
ไขมัน
ในผู้ชาย
แสดงถึง
10-13% |
14-20% |
21-25% |
26-31% |
32-39% |
40% ขึ้นไป |
3-6% |
7-13% |
14-17% |
18-22% |
23-29% |
30% ขึ้นไป |
ไขมันน้อย ในขั้นวิกฤติ |
ไขมัน น้อยมาก |
ไขมันน้อย |
ปกติ |
ท้วม อวบ |
อ้วน |
โรคอ้วนเกิดจากกอะไร
ภาวะโรคอ้วน คือ การที่ร่างกายของเรามีไขมันสะสมอยู่ทั่วร่างกายเป็นปริมาณมากผิดปกติ หรือปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้หมด และเป็นที่น่าตกใจมาก เมื่อมีการศึกษาว่าในประเทศไทยพบประชากรที่มีภาวะโรคอ้วนมากถึง 25% หรือคิดเป็นร้อยละ 48.28 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ทำให้เราติดอันดับ 2 ในอาเซียน!
และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานแตะถึงหลักล้านคน รวมไปถึงการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานมากกว่า 200 คน/วัน โดยโรคอ้วนเกิดได้จากสาเหตุมากมายดังนี้ค่ะ
กรรมพันธุ์
หากพ่อและแม่มีภาวะโรคอ้วนจะทำให้ลูกที่เกิดมามีความเสี่ยงที่จะอ้วนได้ง่ายกว่าคนปกติ แต่ทั้งนี้กรรมพันธุ์ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้อ้วน 100% (มีผลเพียง 40-70% เท่านั้น)
อายุ
เมื่อเราอายุมากขึ้น ฮอร์โมนในร่างกายเราก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดีเหมือนเด็ก ๆ หรือหนุ่มสาวทั่วไป
พฤติกรรมรับประทานอาหาร
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เห็นได้ชัด โดยเฉพาะคนที่ชอบทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ทานพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย จนทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมดและเกิดเป็นไขมันสะสม ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายเราจะต้องการพลังงานต่อวัน คือ 2,500 กิโลแคลอรี่ (ในผู้ชาย) และ 2,000 กิโลแคลอรี่ (ในผู้หญิง)
การใช้ชีวิต
หมอเชื่อว่าหลายคนรู้ดีว่าการออกกำลังกายเป็นประจำเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายและสัดส่วน แต่ก็ยังละเลยกันอยู่ หรือในบางรายอาจมีข้อจำกัดอื่น ๆ จนทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายปกติได้ เช่น คนที่มีอาการป่วยต่าง ๆ จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ปกติ รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอซึ่งจะส่งผลกระทบกับฮอร์โมน ทำให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้น
โรคบางชนิด
การเกิดโรคบางชนิดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโรคอ้วนได้ อาทิ โรคไทรอยด์ชนิดอ้วน ที่ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง รวมไปถึงโรคคุชชิ่งซินโดรม (Cushing’s Syndrome) มีผลให้มีฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงซึ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความอยากอาหารที่สูงขึ้น รวมไปถึงเป็นตัวการปั่นป่วนระบบเผาผลาญในร่างกาย
ยารักษาโรคบางชนิด
ยารักษาโรคบางชนิดอาจทำให้เรามีความอยากอาหารมากขึ้น หรือมีการเผาผลาญได้น้อยลง เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า, ยาลดความดันโลหิต หรือยาที่รักษาโรคภูมแพ้, ยาคุมกำเนิด และยารักษาโรคเบาหวาน ฯลฯ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ทำความรู้จักกับโรคอ้วน ให้มากขึ้น โรคอ้วนส่งผลอันตรายอย่างไร ต้องรู้ ก่อนสาย!
- รับมือกับโรคอ้วนอย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม
ภาวะอ้วนส่งผลกระทบอย่างไร
รูปร่างสัดส่วน
แน่นอนค่ะว่าความอ้วนมักมาพร้อมกับไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมอยู่ทั่วร่างกาย จนทำให้รูปร่างและสัดส่วนของเราใหญ่ขึ้น และส่งผลให้หลายคนขาดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้าอีกด้วย
สุขภาพกาย
โรคที่มาพร้อมกับความอ้วน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 2-10 เท่า รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น อาการปวดขา ปวดหลัง หรือปวดข้อเข่า เนื่องจากร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากขึ้น
สุขภาพจิต
คนที่มีภาวะโรคอ้วนจะขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม บางคนเก็บตัว กลายเป็นคนมีโลกส่วนตัวสูง ไม่กล้าพบปะผู้คน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ จนอาจทำให้พลาดโอกาสในเรื่องต่าง ๆ ไป ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิต บางคนถึงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้าได้
เกร็ดความรู้ ไขมันในร่างกายแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก
ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นไขมันส่วนเกินที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่จะมีผลกระทบความสวยงามของสัดส่วน เช่น บริเวณต้นแขน, ต้นขา, สะโพก หรือหน้าท้อง ฯลฯ “เป็นไขมันที่กำจัดได้ง่าย”
ไขมันในช่องท้อง เป็นไขมันที่สะสมอยู่ลึกกว่าในชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งจะเกาะอยู่รอบ ๆ อวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้เล็ก โดยคนที่มีหน้าท้องใหญ่มาก ๆ และมีไขมันในช่องท้องจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง ฯลฯ “เป็นไขมันที่อันตรายที่สุด”
ไขมันในหลอดเลือด หากมีปริมาณที่สูงมากจนเกินไปจะส่งผลให้เกิด “ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง” ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน
รับมือกับโรคอ้วนอย่างยั่งยืนและปลอดภัย
- ปรับการรับประทานอาหาร โดยการนับแคลอรี่ และหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาล
- ออกกำลังกาย โดยเลือกการออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 45-60 นาที สัปดาห์ละ 3-4 วัน
- ปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงความเครียด, ดื่มน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตร/วัน, เดินแทนการใช้ลิฟท์, พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากในกรณีที่โรคอ้วนเกิดจากสาเหตุของโรคบางชนิดหรือเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่ ลดน้ำหนักพร้อมมีสุขภาพที่ดีได้แบบยั่งยืน
ทางเลือกเพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี
นอกจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมดูแลเรื่องอาหารการกิน และการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีอีกหลายคนที่ต้องเจอกับปัญหาที่ว่าดูแลตัวเองอย่างดีแล้ว แต่น้ำหนักลดลงไม่มากเท่าที่ควร ควบคุมความหิวไม่ได้ หรือกำลังประสบกับผลกระทบที่มาจากโรคอ้วน อาทิ สัดส่วนไม่ลด, มีไขมันส่วนเกินที่ลดยาก หรือผิวหนังหย่อนคล้อยจากน้ำหนักตัวมาก ที่ Amara Clinic ก็มีอีกหลากหลายวิธีที่ตอบโจทย์กับแต่ละปัญหาที่แตกต่างกัน
ปัญหา
- มีค่า BMI ปกติ แต่มีปัญหาเรื่องไขมันใต้ผิวหนังพอสมควร ผิวไม่กระชับ มีเซลลูไลท์
- คนที่ต้องการกระชับสัดส่วนหลังดูดไขมัน
วิธีแก้
- นวดสลายไขมัน อาทิ Venus Legacy, Coolsculpting, Thermatight
ผลลัพธ์
- ผิวกระชับ ผิวเฟิร์มขึ้น
- เซลล์ไขมันลดลง สัดส่วนเล็กลง
- สัดส่วนเข้าที่เร็วขึ้นหลังดูดไขมัน
ปัญหา
- มีค่า BMI ปกติ แต่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน
- มีค่า BMI ปกติ แต่มีปัญหาควบคุมการรับประทานอาหาร
- มีค่า BMI มากกว่า 27 ขึ้นไป อยากลดความอ้วน
วิธีแก้
- ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen เป็นการฉีดตัวยาที่มีฤทธิ์ทำให้ความอยากอาหารลดลง หิวน้อยอิ่มนาน
ผลลัพธ์
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้น้ำหนักลดลง
- ลดไขมันได้ทั่วทั้งร่างกาย
- สุขภาพภายในดีขึ้น
- รูปร่างที่สมส่วนมากขึ้นอีกด้วย
ปัญหา
- มีค่า BMI มากกว่า 23 ขึ้นไป มีไขมันใต้ผิวหนังตามสัดส่วน
วิธีแก้
- ดูดไขมัน เป็นการแก้ไขปัญหาไขมันใต้ผิวหนังได้อย่างตรงจุด ได้ผลลัพธ์ชัดเจน
ผลลัพธ์
- สัดส่วนลดลงในทันที
- ลดไขมันสะสมเฉพาะจุดได้ดี
สรุป
สุดท้ายนี้ หมอเชื่อว่าเราทุกคนต่างได้ข้อสรุปกันแล้วว่า BMI คือ ตัวประเมินและคัดกรองเรื่องสุขภาพและรูปร่างของเราที่สำคัญมาก ๆ และหมอว่ามันก็ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนควรจะใส่ใจเรื่องน้ำหนักตัวกันให้มาก เพราะสุขภาพที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เราแฮปปี้กับการใช้ชีวิตได้อย่างไม่สะดุด มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงมั่นใจกับรูปร่างที่สมส่วนได้มากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
ปรึกษาแพทย์ ฟรี!
ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูดไขมัน
พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)
อาจารย์แพทย์ด้านการดูดไขมัน body-jet
บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย