ปัสสาวะเล็ดรักษาได้! ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด

ปัสสาวะเล็ด

Amara สรุปให้ (Hilight)

  • 3 สาเหตุของปัสสาวะเล็ด คือ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวและไม่เป็นเวลา, หูรูดหย่อนยานมากกว่าปกติ และกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวร่วมกับหูรูดหย่อนยาน

  • ปัสสาวะเล็ดมักพบในกลุ่ม คนหญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ, ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป, ผู้ที่เป็นโรคอ้วน, โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับระบบประสาท, คนวัยทอง, ผู้ที่ชอบอั้นปัสสาวะ, ท้องผูกเรื้อรัง, ไอเรื้อรัง และยกของหนักเป็นประจำ

  • วิธีรักษาปัสสาวะเล็ดทั่วไป คือ รักษาโรคต้นตอ (กรณีปัสสาวะเล็ดจากโรคประจำตัว), ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด และการผ่าตัด

  • ปัจจุบันมีเทคนิครักษาปัสสาวะเล็ดแบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยี TESLA Fomer Chair อาศัยหลักการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงขึ้น เพียงแค่นั่งบนเก้าอี้ TESLA Former 30 นาที ไม่เจ็บ ไม่ต้องพักฟื้น ทำเสร็จกลับบ้านไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ

จากบทความในสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ วิธีกระชับช่องคลอดแบบเร่งด่วน เอาใจสาว ๆ กันไปแล้ว วันนี้ หมอมีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพใกล้ตัวเราที่เจอได้บ่อยมาฝากกันค่ะ นั่นก็คือ “ปัญหาปัสสาวะเล็ด” ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความกังวลใจ และทำให้คนไข้ขาดความมั่นใจ ในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเลยค่ะ ยิ่งเวลาที่ไอ จาม หรือเวลาที่ต้องออกแรงยกของหนัก ๆ และหมอคิดว่าปัญหานี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร ก็คงเขินอายและไม่กล้าเล่าให้คนอื่นฟัง หรือบางคนก็ปล่อยทิ้งไว้ คิดแค่ว่าใส่แผ่นอนามัยรองซับก็จบ และไม่กล้าที่จะเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ดอย่างตรงจุด โดยที่ไม่ต้องมานั่งกังวล ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่กล้าออกนอกบ้าน หรือต้องสิ้นเปลืองเงินไปกับแผ่นอนามัย สำหรับใครที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะปัสสาวะเล็ดอยู่ (ทั้งปัสสาวะเล็ดชายและปัสสาวะเล็ดผู้หญิง) วันนี้หมอจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการปัสสาวะเล็ดให้มากขึ้น รวมไปถึงวิธีรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยวิธีต่าง ๆ และวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น เพื่อช่วยกู้ความมั่นใจให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแฮปปี้อีกครั้งค่ะ

ทำความรู้จัก ปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ด หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ โรคช้ำรั่ว (Urinary Incontinence) คือ ภาวะปัสสาวะเล็ดที่เกิดจากมีแรงดันเพิ่มขึ้นในบริเวณช่องท้อง ที่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเวลาไอ จาม หรือเวลาที่เราต้องออกแรงเบ่งในตอนที่ต้องยกของหนัก ๆ ค่ะ หลายคนเข้าใจว่าภาวะปัสสาวะเล็ดเกิดแค่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เข้าสู่วัยทอง แต่จริง ๆ แล้ว ในปัจจุบันสามารถพบได้ในวัยทำงานมากขึ้น ทั้งภาวะอาการปัสสาวะเล็ด ในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเริ่มเป็นกันตั้งแต่อายุ 20 ปลาย ๆ ไปถึง 30 ต้น ๆ ก็มีค่ะ นั่นก็เพราะสังคมการทำงานที่เร่งรีบ ทำให้หนุ่ม ๆ สาว ๆ ออฟฟิศชอบอั้นปัสสาวะ ไม่ค่อยลุกจากโต๊ะไปเข้าห้องน้ำ จนส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะ และทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ดได้เช่นกันค่ะ

ปัสสาวะเล็ด

สำหรับภาวะปัสสาวะเล็ด ผู้หญิงมักเกิดจากความหย่อนยานของผนังช่องคลอดด้านหน้า รวมไปถึงกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ ทำให้ไม่สามารถพยุงท่อปัสสาวะไว้ได้ ดังนั้นเวลาที่เกิดแรงดันในช่องท้อง ทั้งการไอหรือจาม ก็จะส่งผลให้ท่อปัสสาวะและหูรูดของท่อปัสสาวะที่มีความหย่อนคล้อย จนไม่สามารถรับกับแรงดันของปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านมาจากกระเพาะปัสสาวะได้ ซึ่งทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาค่ะ

ถึงแม้ว่าภาวะปัสสาวะเล็ด ชายจะพบได้น้อยกว่าในผู้หญิง เนื่องจากในผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่กระเพาะปัสสาวะที่แข็งแรงกว่า รวมไปถึงมีต่อมลูกหมากที่อยู่ในตำแหน่งส่วนต้นของกระเพาะปัสสาวะ แต่ก็ใช่ว่าพบได้น้อยแล้วคุณผู้ชายจะไม่ต้องระมัดระวังนะคะ เพราะในภาวะปัสสาวะเล็ด ชายอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากความหย่อนตัวลงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือมีกล้ามเนื้อหูรูดผิดปกติ หรืออาจเกิดได้จากภาวะต่อมลูกหมากโตจนไปกดเบียดที่ท่อปัสสาวะ ฉะนั้นแล้ว หมออยากให้คุณผู้ชายหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพราะภาวะอาการปัสสาวะเล็ด ในผู้ชายที่เป็นอยู่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติอย่างอื่นตามมาด้วย เช่น ภาวะต่อมลูกหมากโต ฯลฯ ที่ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาค่ะ

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด

สำหรับทั้งภาวะปัสสาวะเล็ดชาย และปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพในกลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุของปัสสาวะเล็ดจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งหมอจะขอจำแนกตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากกระเพาะปัสสาวะ, กลไกของหูรูดที่ผิดปกติ และกลุ่มที่มีปัญหาทั้ง 2 สาเหตุร่วมกันค่ะ

1.ปัสสาวะเล็ด จากกระเพาะปัสสาวะ

ประเภทแรกนี้มักจะพบได้ในคนที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ทั้งที่เกิดขึ้นเองและจากอุบัติเหตุในภายหลังค่ะ ซึ่งส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวที่ไวและมักจะบีบตัวไม่เป็นเวลา ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาแบบควบคุมไม่ได้ค่ะ รวมไปถึงในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะได้น้อยกว่าปกติ ก็สามารถมีภาวะปัสสาวะเล็ดได้เช่นกันค่ะ

2.ปัสสาวะเล็ด จากกลไกของหูรูดที่ผิดปกติ

กลุ่มคนที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดจากหูรูดที่ผิดปกติ มักจะมีอาการปัสสาวะเล็ดในขณะที่เกิดแรงดันในช่องท้อง โดยเฉพาะเวลาไอ จาม การออกแรงยกของหนัก ๆ หรือแม้กระทั่งเวลาออกกำลังกายค่ะ สาเหตุก็มาจากหูรูดมีความหย่อนยานมากกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำปัสสาวะได้ดีพอ และเมื่อเกิดแรงดันในช่องท้อง จะทำให้น้ำปัสสาวะเล็ดรั่วออกมาได้

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

3.ปัสสาวะเล็ด จากกระเพาะปัสสาวะและกลไกของหูรูดผิดปกติ

ประเภทสุดท้าย เป็นภาวะปัสสาวะเล็ดที่เกิดขึ้นได้จากทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกัน คือ กระเพาะปัสสาวะที่มีการบีบตัวผิดปกติร่วมกับหูรูดที่หย่อนคล้อย เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะมักจะไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน รู้ตัวอีกทีก็คือ มีปัสสาวะเล็ดออกมาแล้ว และส่วนใหญ่มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยค่ะ

ปัจจัยเสี่ยงและอาการปัสสาวะเล็ด

อย่างที่หมอได้บอกไปนะคะว่า ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น, จากโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อระบบปัสสาวะ รวมไปถึงภาวะการเกิดโรคทางระบบประสาทและสมอง โดยอาจพบได้ในกลุ่มคนต่าง ๆ เดี๋ยวเราไปดูกันคะ ว่าเราเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า รวมไปถึงมาเช็คอาการเบื้องต้นของภาวะปัสสาวะเล็ดกันค่ะ

ปัสสาวะเล็ด

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ด

  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงที่คลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน จนเกิดภาวะปัสสาวะเล็ด ผู้หญิงตามมา
  • ผู้ชายที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต (พบบ่อยในผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป) ซึ่งมักพบปัญหาปัสสาวะเล็ด ชายตามมาได้
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีค่า BMI มากกว่า 23 จนเกิดแรงกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ (หาค่า BMI ด้วยตัวเองได้ที่ >> BMI คือ)
  • คนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคทางสมอง ฯลฯ
  • คนวัยทำงานไปจนถึงวัยทอง ซึ่งเกิดความเสื่อมของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะ 
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้เนื้อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะรวมถึงท่อปัสสาวะเสื่อมสภาพตามไปด้วย
  • คนที่ชอบกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ไม่ชอบลุกไปเข้าห้องน้ำ จนอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่หูรูดกระเพาะปัสสาวะ
  • คนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ทำให้ต้องออกแรงเบ่ง
  • คนที่มีภาวะไอเรื้อรัง ที่ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง
  • คนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ หรือยกของหนัก ๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

อาการปัสสาวะเล็ด เช็คได้เลยว่าเข้าข่ายไหม!

  • รู้สึกปวดปัสสาวะจนไม่สามารถกลั้นได้เลย จนอาจทำให้ปัสสาวะเล็ดราด เข้าห้องน้ำไม่ทัน
  • มีปัสสาวะเล็ดเวลาไอ, จาม, หัวเราะ, การออกกำลังกาย หรือเวลายกของหนัก ๆ
  • มีอาการปัสสาวะเล็ดจนรดที่นอน เนื่องจากการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะที่ไวเกินไปขณะนอนหลับ
  • มีอาการปัสสาวะเล็ดไหลออกมา ทั้งที่เพิ่งเข้าห้องน้ำเสร็จแล้ว

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

วิธีรักษาปัสสาวะเล็ด

สำหรับวิธีรักษาปัสสาวะเล็ด ชาย และปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง แพทย์จะต้องพิจารณาตามสาเหตุที่เป็น รวมไปถึงระดับความรุนแรงของภาวะปัสสาวะเล็ดที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ซึ่งหมอแนะนำให้เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด และรักษากันได้อย่างถูกต้องตามสาเหตุค่ะ

วิธีรักษาปัสสาวะเล็ด จากโรคต้นตอ

อย่างที่ได้บอกไปนะคะว่า ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดได้จากการเกิดโรคบางชนิด ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งการรักษาก็ต้องมุ่งเน้นไปที่โรคที่เป็นต้นตอโดยเฉพาะค่ะ เช่น คนไข้ที่มีภาวะปัสสาวะเล็ด ชาย ที่เกิดจากมีภาวะต่อมลูกหมากโต หมอแนะนำให้รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นการแก้ไขอย่างตรงจุดค่ะ หรือในผู้ที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดที่อาจเกิดได้จากการรับประทานยาบางชนิด, เป็นโรคซึมเศร้า, เป็นโรคเบาหวาน แพทย์ก็จะต้องดูว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะเล็ด จากนั้นก็ต้องใช้วิธีรักษากันให้เหมาะสมและตรงจุดค่ะ

วิธีรักษาปัสสาวะเล็ด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การป้องกันและวิธีรักษาปัสสาวะเล็ดในระยะเริ่มต้น สามารถเริ่มได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ หรือรักษาอาการต่าง ๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะปัสสาวะเล็ดค่ะ เช่น หากในคนไข้ที่มีภาวะโรคอ้วน หมอแนะนำว่าให้เริ่มลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่ รวมไปถึงออกกำลังกาย, ไม่กลั้นปัสสาวะนานจนเกินไป รวมไปถึงในรายที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้เริ่มรักษาอาการท้องผูก โดยการดื่มน้ำเยอะ ๆ เน้นการทานอาหารที่มีกากใยสูง 

ส่วนในรายที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ปัสสาวะบ่อย ให้ฝึกการกลั้นปัสสาวะ โดยเวลาปกติคือ ปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง ซึ่งสามารถฝึกใช้วิธีนั่งไขว้ขา หรือการก้มโน้มตัวไปด้านหน้า รวมไปถึงในรายที่มีอาการปัสสาวะเล็ดในระยะเริ่มต้น ให้ใช้การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นประจำ โดยเป็นการขมิบค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วคลายออก ทำทั้งหมด 20 ครั้ง (นับเป็น 1 เซต) ซึ่งแนะนำให้ทำวันละ 2 เซตค่ะ

ซึ่งในบางราย หากเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ หรือการใช้ยา หรืออาจเป็นการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมควบคู่ไปกับการใช้ยา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ ซึ่งหากรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้การใช้ชีวิตประจำวันดีขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีตามมาด้วย

ปัสสาวะเล็ด

วิธีรักษาปัสสาวะเล็ด ด้วยการผ่าตัด

หากคนไข้ใช้ทั้งวิธีการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาวิธีรักษาปัสสาวะเล็ด ด้วยการผ่าตัดค่ะ เช่น การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง เพื่อเสริมแรงต้านบริเวณท่อปัสสาวะ ช่วยให้การทำงานของท่อปัสสาวะดีขึ้น หรือในกรณีปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง อาจใช้วิธีการผ่าตัดเย็บตรึงเนื้อเยื่อที่ท่อปัสสาวะ แต่เป็นวิธีการที่ไม่ค่อยนิยมสักเท่าไหร่ เนื่องจากต้องเปิดแผลผ่าตัดกว้างและทำให้ต้องพักฟื้นนาน หรืออาจใช้วิธีการผ่าตัดกระชับช่องคลอด หรือการทำผ่าตัดรีแพร์ ซึ่งจะช่วยรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจมีการหย่อนตัวลงได้อีก จึงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำค่ะ

ทางเลือกใหม่! วิธีรักษาปัสสาวะเล็ด แบบไม่ต้องผ่าตัด

Tesla Former

ที่ Amara Clinic เรามีวิธีแก้ไขภาวะปัสสาวะเล็ด แบบไม่ต้องผ่าตัด ด้วยเทคโนโลยี TESLA Former Chair นับว่าอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด ชาย และปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง ในระยะที่ไม่รุนแรง หรือมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ รวมถึงไม่มีโรคร้ายแรงที่อาจมีผลต่อการรักษา (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน) เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ไม่มีการผ่าตัด ไม่มีการเปิดแผลใด ๆ ไม่เจ็บ ไม่ต้องมีการพักฟื้น หลังทำสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติค่ะ

Tesla Former
Tesla Former

คนไข้เพียงแค่นั่งสบาย ๆ บนเก้าอี้ TESLA Former Chair ที่มีอุปกรณ์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าฝังอยู่ในเก้าอี้ 2 ตำแหน่งคือ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีการส่งพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ไปยังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน, ปากมดลูก, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ให้เกิดการกระตุ้นและฟื้นฟูสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและโดยรอบกลับมาแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดปัญหาปัสสาวะเล็ด ชาย และปัสสาวะเล็ด ผู้หญิงได้ดีค่ะ

Tesla Former

โดยการทำ TESLA Former Chair คนไข้จะรู้สึกถึงการหดตัวหรือขมิบบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นจังหวะ ซึ่งให้ผลเทียบเท่ากับการขมิบช่องคลอดหรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานถึง 50,000 ครั้ง ในเวลา 30 นาที โดยขั้นตอนไม่ยุ่งยากเลยค่ะ เพียงนั่งทำสบาย ๆ เป็นเวลา 30 นาทีต่อครั้ง ไม่ต้องถอดเสื้อผ้า ไม่เจ็บ ไม่มีการใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าสู่ร่างกาย สามารถทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาปัสสาวะเล็ดได้ดีแล้ว ยังมีผลในแง่ของการกระชับช่องคลอดในคุณผู้หญิงด้วยค่ะ นับว่าเป็นการรักษาที่ครอบคลุมที่หมอแนะนำเลยค่ะ

นอกจากนี้ คุณผู้ชายก็สามารถทำ TESLA Former Chair เพื่อช่วยฟื้นฟูและส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศให้ดีขึ้นได้ด้วยค่ะ ไม่เพียงเท่านั้นค่ะ เพราะเทคโนโลยีนี้ยังสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อและสลายไขมัน เหมาะสำหรับคนที่อยากเฟิร์มหุ่นให้กระชับ ยิ่งถ้าได้ทำหลังดูดไขมัน Six Pack หรือดูดไขมัน Sexy Line สร้างร่อง 11จะยิ่งช่วยให้สัดส่วนเฟิร์มกระชับมากขึ้นอีกด้วยค่ะ สามารถเข้าไปทำความรู้จักเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้เพิ่มเติมได้เลยค่ะที่ >> TESLA Former

แก้ไขปัสสาวะเล็ด ไปพร้อมกับกระชับช่องคลอด เพิ่มความฟิตได้!

นอกจาก TESLA Former Chair แล้ว ที่ Amara Clinic ยังมีอีกหนึ่งบริการที่จะช่วยลดปัญหาปัสสาวะเล็ด รวมไปถึงยังช่วยกระชับช่องคลอด ซึ่งเหมาะสำหรับสาว ๆ ทั่วไป หรือคุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ ด้วยวิธีการทำ Virgin Tight ซึ่งเป็นวิธีกระชับช่องคลอดแบบเร่งด่วนที่ได้รับความนิยมจากคุณผู้หญิงเป็นจำนวนมากค่ะ

หลักการทำงานของวิธีกระชับช่องคลอด Virgin Tight จะเป็นการใช้คลื่นเสียงอัลตร้าซาวด์ที่มีความเข้มข้นสูง หรือ HIFU (High Intensity Focus Ultrasound) ที่สามารถลงลึกถึงชั้นผิว SMAS (ชั้นเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ) เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินขึ้นมาใหม่ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดได้รับการฟื้นฟูและมีความกระชับมากขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงยังช่วยลดปัญหาปัสสาวะเล็ดได้อีกด้วยค่ะ

สรุป

          ภาวะปัสสาวะเล็ด ชาย และปัสสาวะเล็ด ผู้หญิง นับว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามหรือละเลยไปนะคะ เพราะหากปล่อยไว้นาน นอกจากจะทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อด้านจิตใจตามมาด้วย ทั้งความวิตกกังวลและความเครียด จนทำให้ไม่กล้าออกไปใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมอะไรที่เราชอบ ดังนั้น หากเริ่มสังเกตอาการปัสสาวะเล็ดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะทำให้เรากลับมามั่นใจได้อีกครั้ง และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นตามมาอย่างแน่นอนค่ะ

สำหรับใครที่สนใจทั้งการทำ TESLA Former Chair หรือการทำ Virgin Tight สามารถปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ ที่ LINE : @amaraclinic (มี@นำหน้า) ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย