ภาวะกระดูกสันหลังแอ่น (Lordosis)

หลังแอ่น

บางคนมีพุงยื่นออกมา เลยลองลดน้ำหนักดูเพื่อหวังว่าจะให้หน้าท้องเล็กลง! แต่กลับกลายเป็นว่าผอมลงแล้ว หน้าท้องที่ยื่นออกมายังคงอยู่! แถมหลังแอ่น ก้นก็งอนขึ้นด้วย ส่งผลให้บุคลิกภาพของเราดูไม่ดีเอาซะเลยใช่ไหมครับ อาการเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุที่บ่งบอกว่าคุณกำลังจะมีภาวะกระดูกสันหลังแอ่น (Lordosis) อยู่ก็เป็นได้ครับ! ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในบทความนี้ได้เลย

ภาวะกระดูกสันหลังแอ่นคืออะไร?

ภาวะกระดูกสันหลังแอ่น หรือ Lordosis คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งงอ หรือกระดูกเชิงกรานเอียงไปด้านหน้า ทำให้หลังแอ่น และทำให้ดูเหมือนมีหน้าท้องเยอะ เพราะพุงยื่นออกมาข้างหน้า แม้จริง ๆ แล้วเราอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้มีหน้าท้อง หรือไขมันส่วนเกินเลยก็ตาม

หลังแอ่น

ภาวะกระดูกสันหลังแอ่น (Lordosis) นี้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรมตั้งแต่อยู่ในครรภ์, การตั้งครรภ์, การอุ้มลูกไว้ข้างหน้า ทำให้หลังแอ่นไปข้างหลัง หรือการนั่งทำงานกับที่เป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น อีกทั้งภาวะกระดูกสันหลังแอ่นนี้ ยังทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ  อย่างการปวดหลังส่วนล่างร่วมด้วยครับ

ซึ่งโดยปกติทั่วไป กระดูกสันหลังส่วนล่างของคนเรานั้น จะมีการโค้งงอไปด้านหน้าอยู่แล้วเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ตั้งครรภ์ อุ้มลูก หรือนั่งทำงานที่โต๊ะแบบไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ ก็ไม่ต้องห่วงเลยครับ อาการหลังแอ่นก็จะไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีพฤติกรรมที่ยิ่งทำให้กระดูกหลังแอ่นมากขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่ภาวะกระดูกสันหลังแอ่นแบบรุนแรงได้

ปัญหาของคนที่มีภาวะหลังแอ่น

ภาวะกระดูกสันหลังแอ่น หรือกล้ามเนื้อหลังอ่อนแรงนั้น จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก เอว รวมไปถึงบริเวณขา อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาต่อบุคลิกภาพได้ เช่น หลังแอ่นไปข้างหน้า ในขณะเดียวกันก้นก็งอนขึ้นด้วย, ดูเหมือนคนยืนห่อไหล่อยู่ตลอดเวลา หรือพุงยื่นออกมา แม้จะลองลดน้ำหนักแล้ว หน้าท้องที่ยื่นออกมาก็ไม่หายไป เป็นต้น

  • ปวดหลังส่วนล่าง เอว สะโพก
  • หลังช่วงบนค่อม เหมือนห่อไหล่
  • หลังช่วงล่างแอ่น ก้นงอนขึ้น
  • พุงยื่นออกมา ดูมีหน้าท้อง
  • ดูเป็นคนที่มีบุคลิกภาพไม่ดี

ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

สาเหตุที่ทำหลังแอ่น-พุงยื่น

สิ่งที่ทำให้กระดูนสันหลังแอ่น จนทำให้ดูมีพุงยื่นมาก ๆ ได้นั้น เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมที่มาจากพ่อแม่, การพัฒนาการของกระดูกสันหลังที่ผิดปกติขณะอยู่ในครรภ์, การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง (อ้วนขึ้น หรือตั้งครรภ์) และรวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วยครับ หมอจะยกตัวอย่างเคส ที่ทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหลังแอ่นเพิ่มขึ้นนะครับ

หลังแอ่น

Lower Cross Syndrome

ภาวะที่กล้ามเนื้อไม่มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง คือ ข้างนึงมีความตึง ส่วนอีกข้างนึงมีความอ่อนแรง ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกันไม่สมดุลกัน โดย Lower Cross Syndrome เป็นหนึ่งในอาการของกลุ่ม Office Syndrome (การนั่งทำงานกับโต๊ะนาน ๆ โดยไม่มีการออกกำลังกายร่วมด้วย)

เมื่อกล้ามเนื้อทั้งสองฝั่งไม่สมดุลกัน อาจทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกส่วนต่าง ๆ ผิดปกติมากขึ้นได้ เช่น กระดูกหลังส่วนล่างแอ่นเพิ่มขึ้น (หลังแอ่นมากขึ้น), กระดูกเชิงกรานหมุนไปข้างหน้า หรือกล้ามเนื้อขาตึงมากขึ้น เป็นต้น ส่งผลให้เรามีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือ ปวดบริเวณที่เกี่ยวข้องได้

การตั้งครรภ์ / อุ้มลูกไว้ข้างหน้า

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะอุ้มท้องเป็นระยะเวลานานถึง 9 เดือน ยิ่งหน้าท้องใหญ่ขึ้นมากเท่าไหร่ น้ำหนักตัวของคุณแม่ก็จะเพิ่มขึ้น หน้าท้องหนักขึ้น ทำให้กระดูกสันหลังมีความโค้งงอ หลังแอ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำใหคุณแม่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง รวมไปถึงการตกอยู่ในภาวะกระดูกสันหลังแอ่น (Lordosis) ได้

หลังจากที่คลอดลูกแล้ว ร่างกายจะมีการปรับสมดุลตัวเอง และฟื้นฟูกระดูกสันหลังแอ่น ให้กลับเข้าที่เองอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณแม่คนไหนที่มีลูกติดแม่มาก ๆ ทำให้คุณแม่ต้องอุ้มไว้ข้างหน้าบ่อย ๆ เป็นประจำทุกวัน ภาวะกระดูกสันหลังแอ่นก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นได้ ถ้าอยากหายหลังแอ่น และไม่มีอาการปวดหลังเพิ่ม คุณแม่จะต้องปรับพฤิตกรรมการใช้ชีวิต และเข้ารับการรักษาแบบจริงจัง

การตรวจเช็คภาวะหลังแอ่น

หลังแอ่น

ใครที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างบ่อย ๆ รู้สึกว่าหลังของเราโค้งงอ ปวดสะโพก และมีพุงยื่นออกมามากกว่าปกติ ลองตรวจสอบตัวเองดูนะครับ ว่าเรามีภาวะกระดูกหลังแอ่นมากน้อยเพียงใด ถ้าแอ่นน้อยเราก็จะได้หาวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง หรือถ้าแอ่นมาก ๆ ก็ควรเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีด้วยครับ ลองไปเช็คตัวเองตามวิธีด้านล่างนี้เลย!

วิธีเช็คหลังแอ่น วิธีที่ 1

  • นอนหงายหน้า ราบไปกับพื้นราบ
  • สอดมือเข้าไปข้างใต้หลัง
  • ถ้าสอดมือแล้ว มีช่องว่างเยอะ = มีภาวะหลังแอ่น

วิธีเช็คหลังแอ่น วิธีที่ 2

  • ยืนหันหลังเข้าหากำแพง
  • ให้บริเวณหัว หลัง และก้น ชิดผนัง
  • สอดมือเข้าระหว่างช่วงเอวและกำแพง
  • ถ้าสอดมือแล้ว มีช่องว่างเยอะ = มีภาวะหลังแอ่น

วิธีรักษาภาวะหลังแอ่น

วิธีการรักษาภาวะกระดูกสันหลังแอ่น เพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง ลดพุงยื่น ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น สามารถรักษาได้หลายวิธี โดยจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะหลังแอ่นเป็นหลัก หากใครที่มีอาการหลังแอ่นไม่มาก ไม่ได้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันใด ๆ ก็ยังไม่ได้จำเป็นที่จะต้องรักษาอย่างจริงจัง หากมีอาการปวดหลังส่วนล่างเบา ๆ ก็สามารถใช้ยาแก้ปวดบรรเทาได้

สำหรับคนที่มีภาวะกระดูกสันหลังแอ่นมาก ๆ อาจจะต้องใช้วิธีอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย ใน่ท่าที่ช่วยบริหารหลังส่วนล่าง เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรงมากขึ้น, การกายภาพบำบัด จัดสรีระของกระดูกสันหลังใหม่ การดึงข้อ การดึงหลัง เพื่อยืดกระดูกสันหลังแอ่นออกจากกัน, การกายภาพบำบัดด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า และการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยการใช้เหล็กดามให้หลังยืดตรงอยู่ตลอดเวลา สำหรับคนที่มีภาวะหลังแอ่นแบบรุนแรง และใช้วิธีการรักษาก่อนหน้านี้ไม่ได้ผล

แนะนำท่าออกกำลังกายลดหลังแอ่น

สรุป

           ใคร ๆ ก็สามารถมีภาวะกระดูกสันหลังแอ่น (Lordosis) ได้ทั้งนั้นนะครับ ถ้าแอ่นมาก ๆ เข้าก็อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ลองดูนะครับ ใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีพุงยื่น แต่ก็มั่นใจแล้วว่าตัวเองไม่ได้อ้วน ลองไปปรึกษาแพทย์ดูนะครับ หรือจะเข้ามาปรึกษาหมอไอซ์ ที่ Amara Clinic ก็ได้เช่นกัน

ถ้าเข้ามาปรึกษาหมอ หมอจะประเมินดูว่าคนไข้มีพุงยื่นเพราะอะไร เพราะสาเหตุที่ทำให้พุงป่องมีเยอะมากครับ ทั้งกระดูกสันหลังแอ่น, ไขมันในช่องท้อง, ไขมันในชั้นผิวหนัง, ผิวหย่อนคล้อย รวมไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก ก็สามารถทำให้มีปัญหาหน้าท้องใหญ่ หรือพุงยื่นได้เช่นกันครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย!

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

นพ. วิษณุ เฮ้งสวัสดิ์ (หมอไอซ์)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย