หิวบ่อย กินไม่อิ่ม สัญญาณร้ายพาอ้วนไม่รู้ตัว! ต้องแก้จากต้นตอ!

หิวบ่อย กินไม่อิ่ม

“หิวบ่อย กินไม่อิ่ม” เป็นอาการที่หมอเชื่อว่าเราหลายคนเป็นกันเยอะเลยค่ะ โดยดูได้จากคนไข้ที่มาปรึกษาหมอกันเยอะมาก ๆ ด้วยอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินไม่หยุด กินจุกจิกทั้งวัน ทั้งที่ก็ไม่เคยเป็นมาก่อน ปัญหาที่ตามมาเลยคือ “น้ำหนักขึ้นและมีไขมันส่วนเกิน” จนอาจเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน ที่สำคัญเลยคือ เมื่อเป็นโรคอ้วนก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงตามมา

หลายคนอาจคิดว่าอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ก็แค่อาการปกติ แต่จริง ๆ แล้วมันอาจมีสาเหตุมากกว่านั้นค่ะ ทั้งปัจจัยภายในร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เราอาจมองข้าม วันนี้หมอจะพาทุกคนไปดูกันว่า อาการหิวบ่อยเกิดจากอะไร, หิวบ่อย ท้องร้อง ผิดปกติไหม พร้อมกับเคล็ดลับ 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย รวมถึงวิธีแก้ไขอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่มจากต้นเหตุค่ะ

ในร่างกายของเราทุกคนจะมีฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มกันทุกคนค่ะ และโดยทั่วไป กลไกในร่างกายจะผลิตและหลั่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ให้อยู่ในระดับที่ปกติมีความสมดุล แต่หากเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มเริ่มไม่สมดุล ก็อาจสร้างปัญหาตามมาได้ อย่างอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรืออาการหิวบ่อย ท้องร้องจ๊อก ๆ อยู่บ่อย กินไม่กี่ชั่วโมงก็หิวอีก กินจุกกินจิกทั้งวันค่ะ

หิวบ่อย กินไม่อิ่ม

ฮอร์โมนหิว

ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) หรือฮอร์โมนหิว เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวหรือความอยากอาหาร ฮอร์โมนเกรลินจะถูกผลิตและถูกปล่อย (ตอนท้องว่าง) ในกระเพาะอาหาร จากนั้น ฮอร์โมนหิวจะเดินทางไปตามกระแสเลือดจนไปถึงสมอง ทำให้สมองสั่งการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้สึกหิวนั่นเองค่ะ ถ้าในร่างกายเรามีฮอร์โมนเกรลินมากผิดปกติ จะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หิวง่ายทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะกินไปไม่นาน

ฮอร์โมนอิ่ม

ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนอิ่ม เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความหิวหรือความอยากอาหาร เมื่อเราทานอาหารจนอิ่มแล้ว ฮอร์โมนเลปตินจะส่งสัญญาณไปบอกร่างกายให้รู้ว่า “ไม่รู้สึกหิวอีกต่อไป” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใครที่มีฮอร์โมนเลปตินเยอะก็จะยิ่งดีหรือยิ่งอิ่มเร็วนะคะ เพราะหากมีเยอะผิดปกติจะทำให้ร่างกายต่อต้านฮอร์โมนเลปติน หรือภาวะดื้อเลปตินนั่นเอง เนื่องจากปริมาณเลปตินที่มากเกินไปจะอยู่ตามกระแสเลือด และส่งผลให้สมองไม่สามารถรับสัญญาณจากฮอร์โมนเลปตินได้ จนทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เมื่อทานอาหารมากขึ้นก็จะส่งผลน้ำหนักขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วนได้ง่ายค่ะ

เกร็ดความรู้ ฮอร์โมนหิว-ฮอร์โมนอิ่ม ไม่สมดุล เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนหิวหลั่งออกมากผิดปกติ และร่างกายต่อต้านฮอร์โมนอิ่ม (ภาวะดื้อเลปติน) จนส่งผลให้เราหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือ อาการหิวบ่อย ท้องร้อง เกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ค่ะ

  • มีความเครียดสะสม
  • พักผ่อนน้อย อดนอน
  • ความวิตกกังวล
  • พบได้ในคนที่อดอาหาร หรือกินน้อยเกินไป
  • ขาดการออกกำลังกาย

หิวบ่อย กินไม่อิ่ม เกิดจากอะไร

นอกจากปัจจัยในเรื่องฮอร์โมนหิวและฮอร์โมนอิ่มที่ไม่สมดุลในร่างกายแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ของอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่มกันอีกด้วยค่ะ ซึ่งจะมีทั้งปัจจัยภายในร่างกายรวมไปถึงพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้ร่างกายของเราทำงานผิดปกติ จนทำให้หลายคนมีอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มค่ะ เดี๋ยวเราลองมาดูกันค่ะว่า หิวบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง

โรคเรื้อรังบางชนิด

โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายคนเราจะสามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ได้ แต่ในคนไข้ที่มีภาวะโรคเบาหวาน (โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1) จะไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้ จึงทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดที่สูงกว่าคนปกติ ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดแคลนพลังงาน นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้คนที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีภาวะโรคอ้วน, โรคตับอักเสบ, โรคไต และโรคความดันโลหิตสูง จะมีภาวะที่ร่างกายเกิดการกระตุ้นความหิวได้มากกว่าคนปกติอีกด้วยค่ะ

สอบถามฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

น้ำตาลในเลือดต่ำผิดปกติเป็นสัญญาณของโรคความดันโลหิตต่ำค่ะ เกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำจึงส่งผลให้ร่ายกายต้องการน้ำตาลเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน จนไปเกิดการกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือมีอาการคล้ายกับคนหิวมาก ๆ อยู่บ่อย ๆ ค่ะ 

การใช้ยาบางประเภท

คนที่มีโรคประจำตัวอย่างชนิด ที่ต้องรับประทานยารักษา อาจได้รับผลกระทบจากการใช้ยา ทำให้ไปกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้รู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินจุกจิกทั้งวัน เช่น กลุ่มยาแก้แพ้ (กลุ่มยาฮีสตามีน), กลุ่มยาสเตียรอยด์, ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาอาการทางจิตเวช ฯลฯ

หิวบ่อย กินไม่อิ่ม

ติดหวาน ชอบกินแป้ง

อาหารประเภทแป้ง โดยเฉพาะแป้งที่ผ่านกระบวนการขัดสี รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ๆ มักจะมีไฟเบอร์ต่ำ ดูดซึมเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายผลิตอินซูลินในระดับที่ผิดปกติ บางครั้งก็มากเกินไป บางทีก็น้อยเสียเหลือเกินค่ะ จึงส่งผลต่อเนื่องทำให้ถึงระดับน้ำตาลที่ขึ้นสูงหรือต่ำเกินไป และแน่นอนว่าจะทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินเยอะเท่าไหร่ก็ยังหิวอยู่ ผลสุดท้ายน้ำหนักก็ดีดตัวสูงขึ้น มีไขมันสะสม ทั้งชนิดไขมันในช่องท้อง ที่่่ส่งผลต่อสุขภาพและนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ รวมไปถึงเกิดเป็นไขมันใต้ชั้นผิวหนังที่ทำให้รูปร่างพังอีกด้วยค่ะ

อดอาหาร ทานอาหารไม่ตรงเวลา ข้ามมื้ออาหาร

หิวบ่อยเกิดจากอะไรได้อีก?…การอดอาหาร ทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือข้ามมื้ออาหาร สาเหตุเหล่านี้เลยค่ะที่หมอพบได้บ่อยจากคนไข้ที่เข้ามาปรึกษาที่คลินิก นั่นก็เพราะหนุ่มสาวสมัยนี้ทำงานหนักจนไม่มีเวลาทานข้าว ทำให้ทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือบางคนใช้วิธีลดน้ำหนักแบบผิด ๆ อย่างการอดอาหาร จึงทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ รวมไปถึงการอดอาหาร การข้ามมื้ออาหารแบบกินรวบมื้อเดียว หรือทานอาหารไม่เป็นเวลาจะทำให้ฮอร์โมนเกรลินหลั่งออกมาเมื่อท้องว่าง และหลั่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลาถ้ายังไม่มีอาหารตกถึงท้อง ทำให้เราหิวบ่อย กินไม่อิ่ม รู้สึกโหยเพิ่มมากขึ้นค่ะ

ร่างกายขาดสารอาหาร

ในกรณีที่ร่างกายขาดโปรตีนและไขมันชนิดดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเผาผลาญใช้เป็นพลังงาน แน่นอนค่ะว่าหากเราไม่ได้รับโปรตีนและอาหารไขมันดีอย่างเพียงพอ ร่างกายเราก็จะต้องการสารอาหารทั้ง 2 ชนิดเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลให้เรารู้สึกหิวมากขึ้นและรู้สึกหิวบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีสารอาหารเหล่านี้ครบตามที่ร่างกายต้องการนั่นเองค่ะ

ไลฟ์สไตล์บางอย่าง

โดยเฉพาะในหนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่ต้องรีบเร่ง ทำงานหนัก ทำงานอยู่กับโต๊ะนาน ๆ ทำงานจนดึก ส่งผลให้เราทานอาหารจุกจิก ทานขนมคลายเครียด หรือรู้สึกว่าปากว่างจนต้องหยิบขนมขบเคี้ยวมากินบ่อย ๆ ทำให้ร่างกายเราจดจำรูปแบบการกินอาหารแบบเกินความจำเป็นแบบนี้ และมักจะเรียกร้องให้ทานอาหารในปริมาณมากอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย กินไม่อิ่ม กินขนมจุกจิกทั้งวันค่ะ

หิวบ่อย กินไม่อิ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อ้วนหรือยัง? เช็คได้จากค่า BMI อ่านเพิ่มเติมได้ที่ BMI คืออะไร
  • กินยาคุมทำให้อ้วนจริงหรือมั่ว! กินยาคุมยังไงไม่ให้อ้วน! หาคำตอบได้ที่ ยาคุมทำให้อ้วน

เกร็ดความรู้ หิวบ่อย กินไม่อิ่ม VS โรคกินไม่หยุด

“โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder” เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมทานอาหารปริมาณมากผิดปกติ กินไม่หยุด จนเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น และเสี่ยงต่อภาวะโรคอ้วน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่คนไข้เคยได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น การโดนล้อว่าอ้วน ถูกบูลลี่บ่อย ๆ จนทำให้ไม่มีความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง ซึ่งอาการอาจมีความคล้ายกับอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ที่ไม่ได้เป็นโรคที่เกิดจากสภาวะทางจิตใจ 

อาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม มีความแตกต่างจากโรคกินไม่หยุด ดังนี้ค่ะ

  • หิวบ่อย กินไม่อิ่ม : รู้สึกหิวถึงกิน, หิวบ่อย กินจุกจิกทั้งวัน, ควบคุมการกินของตัวเองได้ (อิ่มแล้วหยุดกิน)
  • โรคกินไม่หยุด : ไม่หิวก็กิน, รู้สึกอิ่มแต่ก็ยังกิน, ควบคุมการกินของตัวเองไม่ได้ (กินเรื่อย ๆ จนทรมาน)

สำหรับใครที่มีอาการเข้าข่าย โรคกินไม่หยุด หมอได้เคยเขียนบทความเรื่องนี้เอาไว้ สามารถกดลิ้งค์เข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ : โรคกินไม่หยุด

เคล็ดลับแก้ไขหิวบ่อย กินไม่อิ่ม

  • ไม่ลดน้ำหนักผิดวิธี ไม่อดอาหาร ไม่ข้ามมื้ออาหาร ทานอาหารให้ตรงเวลา รวมถึงทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อต่อวัน และหากอยากลดความอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่แทน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่มและนอนหลับให้ครบ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที เพื่อปรับสมดุลการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ลดแป้ง-ลดน้ำตาล-เลี่ยงไขมันเลว หรือไขมัน LDL เลือกทานคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ขัดสี และไม่ควรทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
  • ทำจิตใจให้เบิกบาน เลี่ยงความเครียด โดยการหากิจกรรมผ่อนคลายทำ เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, เดินเล่น หรือไปเที่ยว เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายไปกระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ช่วยลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ใครนอนดึก นอนสว่าง นอนน้อย ระวังอ้วนไม่รู้ตัว! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ นอนดึกทำให้อ้วน
  • เช็คด่วน! อาการเสพติดความผอม ปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิต! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ โรคคลั่งผอม

6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย อิ่มนาน

ใครที่เกิดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เห็นทีต้องพึ่ง 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อย กันหน่อยแล้วค่ะ หมอรับรองเลยว่าถ้าได้ทานแล้วจะทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้น หรือใครที่หิวบ่อย ท้องร้องจนทนไม่ได้ก็สามารถพก 6 อาหารต้านอาการหิวบ่อยติดตัวเวลาต้องออกไปนอกบ้านได้เลยค่ะ หิวเมื่อไหร่ทานได้เลย ซึ่งนอกจากจะทำให้อิ่มท้องแล้ว ยังมีประโยชน์กับร่างกายอีกด้วยค่ะ

  1. ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ โดยเฉพาะถั่ววอลนัทและอัลมอนด์ ที่ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
  2. ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ช่วยปรับระดับอินซูลิน และส่งผลดีต่อระบบเมตาบอลิซึม (ระบบเผาผลาญพลังงาน)
  3. แอปเปิ้ล อุดมไปด้วยเส้นใยไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้น
  4. กล้วยหอม ช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่ อิ่มท้องนาน ลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม
  5. ลูกพรุน รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ลดอาการหิวบ่อย ท้องร้อง กินจุกจิก
  6. ลูกเกด มีกากใยสูง เป็นอาหารลดน้ำหนัก ทำให้รู้สึกอิ่มไว และอยู่ท้องได้นาน
กินกล้วยอ้วนไหม

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือยัง? ที่ Amara Clinic มีวิธีควบคุมความหิวได้!

ใช่ค่ะ! ในปัจจุบันที่ Amara Clinic เราได้นำนวัตกรรมลดน้ำหนักอย่างตรงจุด ด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ซึ่งเป็นปากกาลดน้ำหนักที่มีตัวยา GLP-1 Analogue บรรจุอยู่ แม้ว่าจะเป็นการฉีดเข้าที่หน้าท้อง แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะคะ เพราะที่ Amara Clinic มีการสอนการใช้ยาอย่างถูกวิธี ฟีลเหมือนเข็มฉีดยาเล็ก ๆ เจ็บนิด ๆ เหมือนมดกัดเลยค่ะ

โดยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen จะมาช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบยั่งยืน ช่วยควบคุมอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม เมื่อหยุดยาแล้วเกิดไม่โยโย่เอฟเฟกต์ ปลอดภัยเพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตราย รวมถึงได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออย. ในประเทศไทย (Thai FDA), สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) และเกาหลีใต้ (KFDA) โดยอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

Amara Pen ควบคุมอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม ได้อย่างไร

ใน Amara Pen จะมีตัวยา GLP-1 Analogue ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบสารปล่อยความอิ่ม GLP-1 ตามธรรมชาติในร่างกาย โดยตัวยาจะเข้าไปสั่งการ “ศูนย์หิว-ศูนย์อิ่ม” ในสมอง ทำให้เรารู้สึกอิ่มเร็วและอิ่มได้นานขึ้นกว่าปกติ เนื่องจาก GLP-1 Analogue จะออกฤทธิ์อยู่ได้นานกว่าสารธรรมชาติ จึงช่วยลดอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม และลดการกินจุกจิกระหว่างวันได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

Amara Pen เหมาะกับใคร

  • คนที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือค่า BMI มากกว่า 27 ขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน
  • คนที่มีค่า BMI ในระดับปกติ แต่มีภาวะแทรกซ้อนของความอ้วน
  • คนที่มีค่า BMI ในระดับปกติ แต่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • คนที่อยากลดน้ำหนัก และไม่สะดวกที่จะออกกำลังกาย

วัดค่าดัชนีมวลกายด้วยตัวเองได้ที่ BMI คือ

ผลลัพธ์ที่ได้หลังใช้ Amara Pen

  • น้ำหนักลดลง 10-15% ภายในระยะเวลา 3 เดือน
  • น้ำหนักลดลงได้อีก 5-10% หลังจากรักษาไปแล้ว 3 เดือนขึ้นไป
  • ปรับพฤติกรรมการกินได้อย่างถาวร
  • ขนาดกระเพาะลดลง ภายในระยะเวลา 6 เดือน
  • เมื่อน้ำหนักอยู่ในระดับที่พึงพอใจแล้ว สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยาได้ โดยไม่ทำให้โยโย่

หมายเหตุ : ผลลัพธ์หลังการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการรักษา, การควบคุมอุณหภูมิของยา, ประสิทธิภาพของยา, ปริมาณของยาที่ใช้, เทคนิคการปรับยา, สภาพร่างกายของคนไข้แต่ละคน รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์

ปากกาลดน้ำหนัก

Amara Pen เน้นผลลัพธ์และความปลอดภัย

  • ผ่านการนำเข้าตัวยาอย่างถูกต้อง
  • ดูแลการรักษาทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ปากกาลดน้ำหนักได้รับการควบคุมอุณหภูมิตลอดช่วงที่ขนส่ง
  • ตัวยามีประสิทธิภาพสูง ไม่เสื่อมสภาพ
  • ใช้ปากกาลดน้ำหนักแล้วน้ำหนักลดลง เห็นผลจริงทุกเคส
  • แพทย์พิจารณาจ่ายยาและปรับตัวยาตามความเหมาะสมในแต่ละเคส

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amara Pen แอดไลน์ได้ที่

@amaraclinic

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen

สรุป

          หิวบ่อย กินไม่อิ่ม หรือ อาการหิวบ่อย ท้องร้อง ทั้งที่เพิ่งทานอาหารไปไม่นาน เป็นอาการที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน น้ำหนักเกิน ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ รวมไปถึงมีไขมันส่วนเกินสะสมตามสัดส่วนในร่างกาย ทำให้ไม่มั่นใจในรูปร่าง ใส่เสื้อผ้าไม่สวย แต่ถ้าเรารู้จักสังเกตตัวเองและปรับแก้อย่างตรงจุดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นค่ะ

สำหรับใครที่สนใจและอยากแก้ไขอาการหิวบ่อย กินไม่อิ่ม อย่างตรงจุด เห็นผลจริง และมีความปลอดภัยสูง ด้วยปากกาลดน้ำหนัก Amara Pen ก็สามารถเข้ามาพูดคุยปรึกษาหมอที่ Amara Clinic ให้คำปรึกษาฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย