กินยาคุมแล้วอ้วน จริงไหม? เลือกยาคุมกินแล้วไม่อ้วนยังไงดี?

ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน

อีกหนึ่งคำถามที่มีสาว ๆ หลังไมค์ถามหมอกันเยอะมาก นั่นก็คือ “ยาคุมทำให้อ้วน” ใช่ไหมคะหมอ แน่นอนว่าหากมีเรื่องอะไรมากระทบกับรูปร่าง สาว ๆ คงเป็นกังวลไม่น้อย เนื่องจากยังต้องมีความจำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทานแล้วก็มีผลทำให้รูปร่างดูบวมขึ้น กินเก่ง น้ำหนักขึ้นเป็นว่าเล่น

ส่วนที่สาว ๆ คิดว่ายาคุมทำให้อ้วนขึ้นนั้นจะจริงหรือหลอก? วันนี้หมอจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาคุมกำเนิดพร้อมกันไขข้อสงสัยว่า กินยาคุมแล้วอ้วน จริงไหม, ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน ต้องเลือกยังไง รวมไปถึงบวมยาคุม ลดยังไงให้หุ่นกลับมาเพรียวเหมือนเดิม เราไปดูกันเลยค่ะ!

หาคำตอบ! ยาคุมทำให้อ้วน จริงไหม?


 กินยาคุมทำให้อ้วนขึ้นไหม? ขอตอบเลยว่า “การกินยาคุม สามารถทำให้อ้วนขึ้นได้จริงค่ะ” และมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จากการทดสอบและวิจัยในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมต่อเนื่อง จะพบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ใช้ยาคุม นั่นเป็นเพราะว่าในยาคุมตัวยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  (Progesterone) สูง ทำให้สาว ๆ ที่ใช้ยาคุมเกิดอาการอยากอาหารมากขึ้น 

อีกทั้งในขณะที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีปริมาณสูง มักจะเพิ่มการกักเก็บของเหลวหรือน้ำ ซึ่งอาการบวมน้ำในช่วงแรก ๆ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีว่า “บวมยาคุม” เป็นอาการที่เกิดและหายไปเองได้ ด้วยอาการข้างเคียงของยาคุมกำเนิด สาว ๆ หลายคนจึงอาจเผชิญกับภาวะกินยาคุมแล้วอ้วนค่ะ

ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน ลดสิว มีจริงไหม?


ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน ลดสิว ช่วยแก้ปัญหาสาว ๆ ได้ถึงสองต่อ! แท้จริงแล้วมันมีตัวยาที่ช่วยได้จริงไหม? ขอตอบเลยว่ามีจริง ๆ ค่ะ ตัวยาคุมนี้จัดอยู่ใน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraceptive pills: COCs) ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ซึ่งสามารถส่งผลต่อน้ำหนักตัวและการเกิดสิวได้

แต่ทั้งนี้การใช้ยาคุมชนิดดังกล่าวจะต้องจ่ายโดยเภสัชกรเท่านั้น ห้ามสั่งจากออนไลน์มากินเองนะคะ เพราะตัวยาแต่ละชนิดอาจไม่ได้ดีกับทุกคนเสมอไป จึงต้องให้เภสัชกรดูในเรื่องของอายุและน้ำหนักตัวก่อนจ่ายยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมที่สุดค่ะ 

birth control pills weight gain - ยาคุมทำให้อ้วน

3 ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอันไหนดี?


หากสาว ๆ ที่กลัวผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด กลัวกินยาคุมแล้วอ้วนหรือบวมยาคุม หมอแนะนำว่าให้เลือกยาคุมกินแล้วไม่อ้วน หรือยาคุมกำเนิดชนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่ต่ำ หากสาว ๆ ไม่แน่ใจให้สอบถามหรือปรึกษากับเภสัชกรประจำร้านขายยาค่ะ โดยในปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหรือยาปรับฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา ดังนี้

  1. เลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.02 มิลลิกรัม
    จะช่วยลดอาการข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำหรือภาวะบวมยาคุม 
  2. เลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา “ดรอสไพรีโนน” (Drospirenone)
    ช่วยลดอาการบวมน้ำได้เช่นเดียวกัน 
  3. เลือกใช้ตัวยา “ไซโปรเตอโรน อะซิเตท” (Cyproterone acetate)
    ช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น หน้ามัน, สิวเห่อ หรืออาการขนดก และยังช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวลสดใสขึ้น

การคุมกำเนิดมีกี่แบบ รู้จักไว้ไม่เสียหาย


ในปัจจุบันการคุมกำเนิดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ นั่นก็คือ การคุมกำเนิดถาวร และ การคุมกำเนิดชั่วคราว

“การคุมกำเนิด (Contraception)” เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการวางแผนครอบครัวให้มีบุตรในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม, ควบคุมจำนวนบุตร, ช่วยให้คุณแม่หลังคลอดได้มีเวลาพักฟื้น รวมไปถึงช่วยป้องกันในคุณผู้หญิงบางรายที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพรุนแรงเมื่อตั้งครรภ์ค่ะ 

การคุมกำเนิดถาวร

การคุมกำเนิดถาวร คือ การคุมกำเนิดด้วยวิธีทำหมันซึ่งสามารถทำได้ทั้งในผู้ชายและในผู้หญิง การทำหมันจะเหมาะกับคนที่ผ่านการแต่งงานมีลูกตามที่ต้องการหรือตามที่วางแผนครอบครัวแล้ว การทำหมันเป็นการคุมกำเนิดที่มีผลดี คือ ทำครั้งเดียว เจ็บครั้งเดียว สะดวก รวมไปถึงไม่ส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพเหมือนที่หลายคนเข้าใจกันค่ะ โดยในปัจจุบัน การทำหมันผู้หญิง และ การทำหมันผู้ชาย ก็ไม่ได้น่ากลัวหรือเจ็บมากเหมือนที่เราเคยได้ยินกันในสมัยก่อน ด้วยเทคนิคแผลเล็ก เจ็บน้อย และไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานค่ะ 

การคุมกำเนิดชั่วคราว

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว มีอยู่หลากหลายวิธี เช่น การใช้ถุงยางอนามัย, การนับวัน, การฝังยาคุมกำเนิด, การฉีดยาคุมกำเนิด, แผ่นแปะ หรือยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งเป็นการคุมกำเนิดชั่วคราวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การคุมกำเนิดชั่วคราวด้วยวิธีการเหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว หรือผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดเฉพาะช่วงเวลาที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร โดยเมื่อต้องการคุมกำเนิดหรือพร้อมจะมีบุตรแล้ว คนไข้สามารถเลิกใช้การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวได้เลยค่ะ

ข้อดี-ข้อเสีย ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยว VS ฮอร์โมนรวม


 มาถึงวิธีการคุมกำเนิดที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป ไม่ต้องไปโรงพยาบาล นั่นก็คือ ยาคุมแบบเม็ด โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว, ยาคุมฮอร์โมนรวม และยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งเป็นตัวยาที่มีฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีสภาพไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนค่ะ

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว

ยาคุมชนิดนี้จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิดเดียว ถูกออกแบบมาเพื่อลดอาการข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ใน 1 แผงมียา 28 เม็ด กินได้ทุกวันแบบไม่ต้องหยุด เมื่อทานหมดแล้วสามารถเริ่มทานแผงใหม่ได้เลย

ข้อดี ไม่ค่อยส่งผลให้เกิดสิว-ฝ้า ลดอาการปวดท้องประจำเดือน ช่วยลดการเสียเลือดจากการมีประจำเดือน คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถทานได้โดยไม่มีผลกระทบต่อน้ำนมแม่

ข้อเสีย สามารถยับยั้งการตกไข่เพียง 60% จึงมีความเสี่ยงตั้งครรภ์ได้มากกว่ายาคุมชนิดฮอร์โมนรวม และมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อีกด้วยค่ะ

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

เป็นยาคุมกำเนิดที่บรรจุฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน และสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดเท่ากันทุกเม็ด และชนิดที่มีฮอร์โมนไม่เท่ากัน ซึ่งยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สูงมาก

ข้อดี ลดอาการปวดประจำเดือน ลดปริมาณเลือดประจำเดือน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ และเมื่อหยุดยาแล้วสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาสั้นค่ะ

ข้อเสีย ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน อายุมากกว่า 35 ปี และอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น มีเลือดออกกะปริดกะปรอย ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ความดันโลหิตสูง ทำให้มีอาการบวมน้ำแลดูอวบอ้วน

weight gain

สาเหตุที่แท้จริงของความอ้วน อาจไม่ได้มาจากยาคุมเสมอไป!


ยาคุมทำให้อ้วนอาจไม่ใช่สาเหตุของความอ้วนที่แท้จริง แต่ต้องยกให้เป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมากกว่าค่ะ ยิ่งขาดการดูแลตัวเองเรื่องอาหารการกินและการละเลยเรื่องสุขภาพก็ยิ่งเป็นตัวการที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีไขมันสะสมตามสัดส่วนต่าง ๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีดังนี้ค่ะ

  • ทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง ทานอาหารไม่นับแคลอรี่
  • ทานอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาลในปริมาณที่สูง
  • ระบบเผาผลาญทำงานผิดปกติ
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำน้อย
  • กินข้าวแล้วนั่งเลย 
  • นั่งทำงานนาน ขยับตัวน้อย
  • ชอบปาร์ตี้สังสรรค์เป็นประจำ สาเหตุของแอลกอฮอล์ทำให้อ้วนลงพุง

ยาคุมทำให้อ้วนขึ้น บวมยาคุม ลดยังไง


อย่างที่หมอได้ให้ข้อมูลกับสาว ๆ ไว้ข้างต้นแล้วว่า “อาการบวมยาคุม” หรือ “อาการบวมน้ำ” เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และมันไม่ใช่ไขมันสะสม แต่ตัวยาฮอร์โมนที่มีอยู่ในยาคุมกำเนิด อาจมีผลข้างเคียงที่สามารถเชื่อมโยงกับสาเหตุที่ทำให้อ้วนได้ นั่นก็คือ เพิ่มความอยากอาหารจนนำไปสู่การทานอาหารที่แคลอรี่สูง และส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นนั่นเองค่ะ

ซึ่งนอกจากการเลือกใช้ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน หรือยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนต่ำอย่างที่หมอแนะนำไปจะช่วยลดอาการข้างเคียงได้ การควบคุมอาหารด้วยการลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และน้ำตาล และทานอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมในแต่ละวัน คือ ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ (ผู้หญิง) และไม่เกิน 2,500 กิโลแคลอรี่ (ผู้ชาย) รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำก็สามารถเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

หลังกินยาคุมแล้วอ้วนอยู่ แก้ยังไงได้บ้าง

ในสาว ๆ บางคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากอะไร จะเป็นเพราะยาคุมทำให้อ้วน การทานเยอะ หรือ อ้วนแต่กำเนิด หนทางสู่น้ำหนักที่ได้มาตรฐานและรูปร่างที่สมส่วน สิ่งแรกที่หมออยากให้ทุกคนให้ความสำคัญเลยคือ

  • การควบคุมอาหาร โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียดที่ส่งผลต่อฮอร์โมนที่ทำให้อ้วน

แต่ก็ยังมีคนไข้บางรายที่มาปรึกษาหมอในเรื่องน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานที่แก้ไขได้ยาก เพราะลองมาหมดทุกวิธีแล้ว ทั้งการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย น้ำหนักก็ลดลงไม่มาก สัดส่วนยังไม่สมส่วน มีปัญหาเรื่องไขมันสะสมอยู่ หรือบางคนที่กินยาคุมแล้วอ้วน มีปัญหาฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น เมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ ร่างกายจะหลั่งคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) มากผิดปกติ ส่งผลให้เรารู้สึกอยากอาหารมากขึ้นและยังไปปั่นป่วนระบบเผาผลาญพลังงานอีกด้วยค่ะ

ดังนั้นการลดน้ำหนักด้วยตัวเองอาจไม่เป็นผลต่อทุกคน ที่ Amara Clinic เราจึงมีตัวช่วยให้คนไข้ได้เลือกอยู่หลายทาง ไม่ว่าจะเป็น ปากการลดน้ำหนักและการดูดไขมัน 

ปั้นหุ่นสวยเกินต้านต้องที่ Amara Clinic!!

แต่ทั้งนี้เพื่อหุ่นที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรง หมอก็อยากจะแนะนำให้คนไข้ออกกำลังกายร่วมด้วย เพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรงพร้อมยกกระชับผิวพรรณให้สวยไปอีกนาน เมื่อทั้งน้ำหนักและสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ก็จะส่งผลให้สุขภาพดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายที่มากับโรคอ้วน รูปร่างสมส่วนขึ้น แต่งตัวได้สนุกยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ

ปรึกษาเรื่องลดสัดส่วน ลดน้ำหนักแบบยั่งยืน

Amara Clinic ดูดไขมันจนเป็น No.1 ระดับโลก! การันตีด้วยรางวัล!

  • Body-jet Trainging Center หรือ ศูนย์การสอนดูดไขมันและเติมไขมันด้วยเครื่องดูดไขมันพลังน้ำ ประจำประเทศไทย
  • รางวัล The Most Body-jet Users (5 ปีซ้อน) 
  • No. 1 in Asia of Procedures Done in 2020-2021 (2 ปีซ้อน)
  • รางวัล 2022 Global No.1 Renuvion J Plasma User คลินิกที่มีจำนวนเคส J Plasma เยอะที่สุดทั้งในเอเชียและในระดับโลก

สรุป

          ยาคุมกินแล้วไม่อ้วนมีหลายชนิดให้เลือก ซึ่งยาคุมบางชนิดอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วนได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนนะคะ ซึ่งสาว ๆ บางคนอาจพบว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับตัวเองได้มากกว่าคนอื่น หรืออาจไม่มีผลข้างเคียงเลยก็เป็นได้ค่ะ ทั้งนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นวิธีที่แพทย์แนะนำหากยังไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ แต่หากสาว ๆ ที่ประสบปัญหากินยาคุมทำให้อ้วน บวมยาคุม หมอแนะนำว่าให้ปรึกษาเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยาคุมกินแล้วไม่อ้วน เพื่อเปลี่ยนตัวยาในยาคุมกำเนิดตามคำแนะนำ เพื่อลดอาการข้างเคียงที่ไม่พึ่งประสงค์ค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่
สาขารัชโยธิน 062-946-2397
สาขาราชพฤกษ์ 062-556-6623
สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

KOL Trainer
แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย