โรคคลั่งผอม Anorexia เทรนด์สุดอันตรายของคนอยากผอม!

โรคคลั่งผอม

          โรคคลั่งผอม ปัญหาของวัยรุ่นหลาย ๆ คนแทบจะทุกเพศทุกวัย มักจะมาจากเทรนด์ความนิยมรูปร่างผอมแห้ง ลีน ไม่มีไขมัน ความอยากตัวเล็ก ตัวบาง จนกลายเป็นตั้งเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนักแบบเกินเหตุ บางรายออกกำลังกายอย่างหนัก บางรายอดอาหารจนป่วย

          คนที่เป็นโรคคลั่งผอม เกิดจากหลายสาเหตุมาก ๆ ค่ะ บางเคสมีการใช้ยาลดน้ำหนักที่อันตรายเข้ามาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นยาที่มีความรุนแรงมาก จนส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย แต่ก็ยังมีหลายคนที่ยังไม่ทราบว่าอาการของโรคเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น เรามาหาคำตอบไปด้วยกันในบทความนี้เลยค่ะ

โรคคลั่งผอม หรือ Anorexia คืออะไร

          โรคคลั่งผอม (Anorexia nervosa) คือ กลุ่มอาการที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ ในระดับที่มีจิตใจจดจ่ออยู่กับน้ำหนักและอาหารเพียงอย่างเดียว แม้จะเห็นรูปร่างของตัวเองที่ผอมอยู่แล้วก็จะรู้สึกว่าอ้วน บางเคสผอมจนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็ยังรู้สึกว่าผอมไม่พอ

          ภาวะคลั่งผอมเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มอาการผิดปกติของพฤติกรรมการกินขั้นรุนแรง (Eating Disorder) โดยเป็นกลุ่มอาการย่อยที่พบเห็นกันบ่อยมากที่สุด แต่ก็จะกลุ่มอาการแยกย่อยออกไปอีกหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น

  • Bulimia nervosa (บูลิเมียหรือโรคล้วงคอ) มักจะทานเยอะมาก ๆ ในมื้อนั้น แล้วมาล้วงคอเพื่ออาเจียนทิ้งทีหลัง บางรายออกกำลังกายหนักมาก บางรายใช้ยาเพื่ออาเจียน ยาระบาย
  • Binge eating disorder หรือ BED (โรคกินไม่หยุด) มักมีอาการควบคุมปริมาณการทานอาหารไม่ได้ ทานเยอะกว่าปกติ ทั้งที่ไม่รู้สึกหิว แต่ก็คุมตัวเองไม่ได้
  • Pica (โรคชอบกินของแปลก) มักมีพฤติกรรมทานอะไรแปลก ๆ หรือทานสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่อาหาร เช่น โลหะ พลาสติก ชอล์ก ดิน หิน กระดาษ เป็นต้น
  • Rumination disorder (ภาวะเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนออก) มักมีอาการขย้อนอาหารที่เคี้ยวและกลืนเข้าไปก่อนหน้าออกมา บางรายเคี้ยวแล้วกลืนอีกครั้ง บางรายสำรอกทิ้ง
  • Avoidant food intake disorder (โรคเลือกกิน) มักมีอาการเลือกกินอาหารบางอย่าง และเลี่ยงอาหารบางอย่าง

          ผู้ป่วยที่เป็นโรคคลั่งผอม ในเวลาต่อมาจะเกิดปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง เริ่มจากการทานน้อยลงเรื่อย ๆ กลัวการทานอาหารที่ทำให้อ้วน บางรายไม่ทานเลย ซึ่งมักจะมาพร้อมกับภาวะทางจิตอื่น ๆ อาทิ โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ ส่วนมากจะเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ แต่จะพบได้น้อยกว่าในผู้ชาย

โรคคลั่งผอม

สาเหตุของโรคคลั่งผอม


          ปัจจัยของการเกิดโรคคลั่งผอม หรือ Anorexia คือ เรื่องของพันธุกรรม, ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง, ด้านจิตใจ, สภาพสังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงค่านิยมต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบปัญหานี้ในวัยรุ่นผู้หญิงค่ะ

พันธุกรรม

        โรคคลั่งผอมมีความเกี่ยวข้องกับยีนบางตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรค เช่น พี่น้องฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน หากคนใดคนหนึ่งเป็น ก็มักพบว่าแฝดอีกคนก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังรวมถึงกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน

ความผิดปกติของสารสื่อประสาท

        เป็นความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว-อิ่ม ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกหิวอย่างรุนแรง ทานทุกอย่างที่ขวางหน้า หิวตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคกินไม่หยุดก็ได้ แต่สำหรับกรณีที่รู้สึกหิวน้อยมาก เบื่ออาหาร ก็อาจเป็นอาการของโรคนี้ได้เช่นกัน

ด้านจิตใจ

        อย่างที่กล่าวไปว่า อาการคลั่งผอมรุนแรงมักจะมาพร้อมกับภาวะทางจิตใจที่ผิดปกติด้วย คนที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า, โรควิตกังวล, โรคเครียด, โรคย้ำคิดย้ำทำ, มีความคาดหวังในตัวเองสูง หรือต้องการความสมบูรณ์แบบในชีวิต (Perfectionism) เมื่อรู้สึกว่าตัวเองน้ำหนักเยอะ อ้วน ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะให้ตัวเองไม่อ้วนและดูดี เพื่อเติมเต็มช่องว่างในจิตใจค่ะ

สภาพแวดล้อมและค่านิยม

        เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นกังวลเกี่ยวกับหน้าตาและรูปร่าง ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมผิวขาวใส การแต่งตัวต้องตามเทรนด์ รูปร่างผอมเพรียว โดยเฉพาะเคสที่เคยโดนล้อ โดนบูลลี่ ได้รับแรงกดดันจากคนรอบข้าง จนเกิดเป็นความเชื่อผิด ๆ ว่ายิ่งผอมยิ่งสวย ถ่ายรูปดูดี นำไปสู่การเสพติดความผอม จนกลายเป็นโรคดังกล่าว

กรณีตัวอย่าง ประสบการณ์โรคคลั่งผอมจาก “Hannah Koestler”

โรคคลั่งผอม

ขอบคุณภาพประกอบจาก : dailymail.co.uk

          Hannah Koestler สาววัย 22 ปีมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพียงแค่ 11 เท่านั้น! โดยปกติแล้วเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีมวลกายจะอยู่ที่ 18.60-22.90 สำหรับคนปกติที่น้ำหนักกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่พอดี หากต่ำเกินกว่า 18.60 จะถือว่าน้ำหนักน้อยผิดปกติ สำหรับ Hannah แล้วค่า 11 จึงเป็นตัวเลขที่อันตรายมาก

          สาเหตุของความผิดปกตินี้ มาจากพฤติกรรมรับประทานอาหารของ Hannah ค่ะ โดยวัน ๆ นึงเธอจะจำกัดการทานอาหารเพียง 100 กิโลแคลอรี่ต่อวันเท่านั้น ในขณะที่พลังงานปกติของร่างกายผู้หญิงวัยเท่ากันต้องการปริมาณแคลอรี่ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี่/วัน เรียกว่าน้อยเสียยิ่งกว่าน้อยอีก!

          จุดเริ่มต้นโรคคลั่งผอมของ Hannah Koestler เกิดจากการที่ครอบครัวต้องย้ายประเทศบ่อย ทำให้เธอมีความกังวลว่าการย้ายโรงเรียนบ่อยครั้งจะทำให้เธอไม่มีเพื่อนสนิท คบใครได้ไม่นานก็ต้องย้าย เป็นสาเหตุให้เธอเกิดอาการเบื่ออาหาร รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมเรื่องที่เธอต้องเผชิญอยู่ได้ เธอจึงเลือกใช้วิธีควบคุมการทานอาหารของเธอแทน

          แต่กว่า Hannah Koestler จะรู้ตัวว่าร่างกายของเธอเข้าขั้นวิกฤติแล้ว เธอก็ถูกหามส่งโรงพยาบาลด้วยภาวะอวัยวะล้มเหลว ด้วยเหตุการณ์เฉียดตายในครั้งนี้ ทำให้ Hannah Koestler หันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยกลับมารับประทานอาหารเหมือนเดิมจนน้ำหนักตัวและค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมกับชีวิตใหม่ที่สดใสยิ่งกว่าเดิม ทว่ากว่าจะกลับมาแข็งแรงได้ก็ต้องฝ่าฟันโรคกวนใจนี้ไปให้ได้ ต้องชื่นชมจริง ๆ ค่ะ

รวมสัญญาณเตือน! คุณเข้าข่ายเป็นคนคลั่งผอมหรือเปล่า?

ปกติแล้ว โรคคลั่งผอมจะมีสัญญาณบ่งบอกว่าเรากำลังเข้าข่ายหลายอย่าง โดยเฉพาะสภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลให้เรามีพฤติกรรมการทานแบบผิดแปลกไป ลองเช็คสัญญาณด้านล่างกันดูได้เลยค่ะ

สัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคคลั่งผอม AMARA

สัญญาณทางด้านร่างกาย

  • มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็นตามช่วงอายุ
  • ค่าดัชดีมวลกายน้อยกว่า 15 (ควรตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นร่วมด้วย)
  • มีอาการขาดสารอาหาร ขาดน้ำ นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
  • หนาวง่ายมาก หนาวตลอดเวลา 
  • เวียนหัว เป็นลมบ่อย อ่อนเพลีย
  • หัวใจเริ่มเต้นผิดปกติ ความดันต่ำ
  • หายใจผิดปกติ (ส่วนใหญ่มักหายใจถี่เกินไป)
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ไม่มีแรง ผิวแห้ง ตัวเหลือง ผมร่วง เล็บเปราะง่าย ป่วยบ่อย

สัญญาณด้านจิตใจ

  • มีความกังวล ระมัดระวัง หรือกลัวเกี่ยวกับอาหารที่จะทาน
  • รู้สึกว่าตัวเองอ้วนมาก แม้จะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • กำชับตัวเองว่าต้องออกกำลังกายอย่างหนักทุกวัน
  • มีอาการต่อต้าน ไม่ยอมรับว่าตัวเองรู้สึกหิว แม้จะหิวมากก็ตาม
  • เคร่งเครียดเกี่ยวกับน้ำหนักตัว วิตกกังวลตลอดเวลา
  • เลือกทาน จำกัดแคลอรี่แต่ละมื้ออย่างเข้มงวด
  • บางรายอาจมีอาการหวาดกลัวอาหารบางชนิดร่วมด้วย
  • คิดมากเกี่ยวกับสัดส่วนร่างกาย ตำหนิรูปร่างตัวเองเสมอ
  • ไม่ยอมรับว่าน้ำหนักที่ลดเรื่อย ๆ จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • มีอารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อยากทำร้ายตัวเอง
  • หมดความรู้สึกทางเพศ ไม่อยากเข้าสังคม
  • สมาธิสั้น โฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยาก

ภาวะและอาการแทรกซ้อนของผู้ป่วยคลั่งผอม

          เมื่ออาการต่าง ๆ ตามสัญญาณเตือนเบื้องต้นเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะส่งผลต่อสภาพร่างกายของเราขั้นอันตรายได้ค่ะ ยิ่งทานน้อย ออกกำลังกายอย่างหนัก และไม่ยอมรับความคิดเห็นหรือคำเตือนจากคนอื่น ก็จะยิ่งทำให้อาการแย่ลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ หัวใจเต้นผิดปกติ
  • มวลกระดูกลดลง อ่อนแอ เปราะบาง
  • เป็นโรคโลหิตจาง ประจำเดือนขาด น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • เป็นโรคขาดวิตามินและแร่ธาตุ ขาดสารอาหาร
  • อวัยวะต่าง ๆ มีปัญหาหรือล้มเหลว โดยเฉพาะตับและไต
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล มีอาการเพ้อฝัน
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อทุกส่วน รวมถึงกล้ามเนื้ออวัยวะ
  • ระบบทางเดินอาหารมีปัญหาตลอดเวลา
  • ซึมเศร้า เสียใจ หดหู่ บางรายอยากฆ่าตัวตาย
  • หัวใจล้มเหลว ปอดล้มเหลว เสียชีวิต

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค


          นอกจากการเช็คสัญญาณเตือนโรคคลั่งผอมเบื้องต้นแล้ว หากมีความเข้าข่าย สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ค่ะ โดยจะมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

การตรวจสุขภาพจิต

          เบื้องต้น จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีการพูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรง เพื่อตรวจประเมินสุขภาพจิตว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ และจะมีการซักประวัติการใช้ชีวิตประจำวันเพิ่มเติม ได้แก่ การรับประทานอาหารในแต่ละวัน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนัก ไปจนถึงทัศนคติเกี่ยวกับรูปร่างว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยส่วนใหญ่ มักจะใช้แบบคัดกรองอาการผิกปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) เพื่อให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น

การตรวจร่างกาย

          หลังจากผ่านการตรวจสุขภาพจิตแล้ว ก็จะเข้าสู่การซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการออกกำลังกาย ประวัติครอบครัว ประวัติการรักษาอาการทางจิต ประวัติการใช้ยารักษาโรค มีพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเสพสารเสพติดหรือไม่ ในกรณีที่เป็นเพศหญิง ประจำเดือนมาปกติไหม

          นอกจากนี้ ก็จะมีการตรวจร่างกายเพื่อให้ทราบค่าตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC), ความสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย, ตรวจฮอร์โมน, ภาวะขาดสารอาหาร, ความปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, ความหนาแน่นของกระดูก, ค่าอิเล็กโทรไลต์, ค่าโปรตีนในเลือด, การทำงานของตับ ไต ต่อมไทรอยด์ และตรวจว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม



แนวทางการรักษาโรคคลั่งผอม


          หากได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายหรือเป็นโรคคลั่งผอม จะเริ่มการรักษาสุขภาพจิตร่วมกับการปรับพฤติกรรมการทานอาหารก่อนค่ะ (เว้นเสียแต่ว่าเราอยู่ขั้นวิกฤต จะต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินตามขั้นตอนทางการแพทย์ก่อน) ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์หลายแขนง อาทิ จิตแพทย์, นักโภชนาการ, อายุรแพทย์, พยาบาลพิเศษ หรืออาจมีกุมารแพทย์ (หมอเด็ก) เข้ามาร่วมให้คำปรึกษา กรณีที่ผู้ป่วยเป็นเยาวชน แบ่งออกเป็นคนละส่วน ดังนี้

การบำบัดทางจิต

          จิตแพทย์จะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองของผู้ป่วยเกี่ยวกับการทานอาหาร น้ำหนัก รูปร่าง สัดส่วน ภาพลักษณ์ ช่วยให้ผู้ป่วยได้พัฒนาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง ความเข้าใจถึงอันตรายของการลดน้ำหนักมากเกินไป กระตุ้นสติและสมาธิให้สามารถรับมือกับความเครียด อารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงการรักษาอาการที่ทำให้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

          ในระหว่างนี้ จิตแพทย์จะต้องให้ข้อมูลและคำแนะนำกับครอบครัวผู้ป่วย เกี่ยวกับวิธีรับมือต่อความผิดปกติและอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น สร้างความรู้ความเข้าใจในผู้ป่วย ข้อนี้เป็นจุดสำคัญที่จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น เป็นกำลังใจและแรงผลักดันที่ดี

การรักษาด้วยยา

          หากผู้ป่วยมีสภาวะทางจิตที่ไม่ปกติ เช่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลร่วมด้วย จิตแพทย์จะต้องมีการจ่ายยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยับยั้งความวิตกกังวล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถเข้ารับการรักษาต่อเนื่องได้สม่ำเสมอ

          โดยยาบางชนิดอาจจะช่วยเพิ่มน้ำหนักไปในตัวได้ ช่วยปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยปรับฮอร์โมน ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าร่างกายต้องได้รับการรักษาอะไรบ้าง

การปรับโภชนาการ

          เป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน โดยนักโภชนาการจะต้องวินิจฉัยภาวะขาดสารอาหารของผู้ป่วยอย่างละเอียด และให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารอาหารที่ผู้ป่วยต้องได้รับ เพื่อให้สุขภาพร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว

          นอกจากการปรับสารอาหารแล้ว จะต้องมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้เป็นปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยปรับมุมมองเกี่ยวกับอาหารต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

เราสามารถป้องกันโรคคลั่งผอมได้ไหม?

ปัจจุบัน การป้องกันโรคคลั่งผอมนั้นไม่มีแนวทางป้องกันโดยตรงครับ แต่จะสามารถทำได้โดยการปรับมุมมองเกี่ยวกับการทานอาหารและการรักษาสุขภาพ ซึ่งจะต้องทำร่วมกับครอบครัวและคนรอบข้าง ให้ผู้ป่วยรู้สึกรักตัวเอง ภูมิใจในตัวเอง มีทัศนคติที่ดีต่ออาหาร การเข้าสังคม ไปจนถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากตัวเลขบนตาชั่ง

ปรับรูปร่าง ลดน้ำหนักแบบไม่เสียสุขภาพ ทำยังไงดี?

          หากหนุ่ม ๆ สาว ๆ มีความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนัก สัดส่วน หรือรูปร่างของตัวเอง นอกจากการลดหุ่นด้วยตัวเองแล้ว ก็ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ปลอดภัยสำหรับคนที่ไม่สามารถลดได้ด้วยตัวเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ปากกาลดน้ำหนัก หรือการดูดไขมันปรับสัดส่วน

          ปากกาลดน้ำหนัก เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยให้เราสามารถปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้น้อยลงแบบปลอดภัย จากส่วนประกอบที่มีฤทธิ์คุมความรู้สึกหิวและอิ่ม เหมาะกับคนที่ไม่สามารถคุมความหิวตัวเองได้ ลดการทานจุกจิก อิ่มเร็วขึ้น อิ่มนาน ป้องกันไม่ให้ทานอาหารมากเกินไป

          เมื่อเราสามารถควบคุมปริมาณการทานอาหารได้ ก็จะช่วยลดน้ำหนักได้ดีขึ้นค่ะ และยังช่วยลดขนาดกระเพาะให้เล็กลง แม้จะหยุดใช้ก็ไม่ได้ทำให้กระเพาะขยายเท่าเดิม เป็นการลดน้ำหนักและสัดส่วนในระยะยาวด้วย

ปากกาคุมหิว - Amara Pen
ปากกาคุมหิว - Amara Pen

          ส่วนการดูดไขมัน มีเป้าหมายในการปรับสัดส่วนที่ทำให้เราไม่มั่นใจค่ะ ปัญหารูปร่างของหนุ่มสาวมักจะมาจากการมีไขมันส่วนเกินที่ไม่ต้องการ ซึ่งการลดน้ำหนักไม่สามารถเจาะจงตำแหน่งที่อยากให้รูปร่างเล็กลงได้ (โดยเฉพาะต้นขา หน้าท้อง เหนียง) แต่การดูดไขมันสามารถทำได้!

          การดูดไขมันเป็นการสลายไขมันเฉพาะส่วนและกำจัดทิ้งในทันที ทำให้รูปร่างของเราเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ และผลลัพธ์ก็สามารถอยู่ได้ยาวนาน เพิ่มความมั่นใจในรูปร่างให้มากขึ้น เป็นอีกแนวทางป้องกันไม่ให้เรารู้สึกอึดอัด เครียด หรือกังวลกับหุ่นตัวเอง จะได้ไม่เสี่ยงต่อโรคคลั่งผอมในอนาคตค่ะ

          ทั้งนี้ หากต้องการปรับสัดส่วน ไม่ว่าจะด้วยปากกาลดน้ำหนักหรือการดูดไขมัน ก็จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ เนื่องจากปากกาลดน้ำหนักจะต้องมีการปรับโดสให้เข้ากับผู้ใช้ และการดูดไขมันจะต้องมีการประเมินสุขภาพก่อนรับบริการ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและปรึกษา AMARA ได้ฟรี!

สรุป

          โรคคลั่งผอม คือหนึ่งในกลุ่มอาการผิดปกติในการทานอาหาร Eating Disorder ซึ่งมีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต เพราะมันส่งผลกระทบกับระบบการทำงานของร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิต ทั้งนี้ ก็มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก จนทำให้การลดน้ำหนักเป็นเป้าหมายที่ต้องทำ หุ่นผอมคือความสมบูรณ์แบบ ต้องอดอาหารให้ได้มากที่สุด

          ทว่าหัวใจหลักในการลดน้ำหนักคือ ‘ความปลอดภัย’ การอดอาหารจึงไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะนอกจากร่างกายที่ผ่ายผอมไม่น่าดูแล้ว ยังส่งผลเสียกับสุขภาพกายใจ จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับรูปร่างหรือน้ำหนัก และต้องการปรับหุ่นอย่างจริงจัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดจะดีกว่าค่ะ

ปรึกษาแพทย์ ฟรี!

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

สอบถามโปรโมชั่น LINE: @amaraclinic
หรือคลิกลิงค์นี้ได้เลย : https://lin.ee/801MUsB

ติดต่อเบอร์โทร : 

062-789-1999

⇒ สาขา รัชโยธิน กด 1
⇒ สาขา ราชพฤกษ์ กด 2

พญ.กรพร สถิตวิทยานันท์ (หมอมะปราง)

KOL Trainer แพทย์ผู้สอนดูดไขมัน Water-jet

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี!


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย